เกี่ยวกับงาน

การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 41 ปี 2559

หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีบทบาทสำคัญในการผลิตบุคลากรระดับบัณฑิตศึกษา มุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาให้มีคุณภาพ ได้มาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ มีการผลิตผลงานวิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ และงานวิจัยที่ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ควบคู่ไปด้วย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดให้มีการนำเสนอผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระ เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้ปรากฏแก่สาธารณชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงเห็นสมควรให้จัดการประชุมเสนอผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และการค้นคว้าอิสระขึ้น เพื่อกระตุ้นบรรยากาศการวิจัย เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นระหว่างนักวิจัยสาขาวิชาเดียวกันและกับสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เป็นการสร้างเครือข่ายงานวิจัย เกิดฐานข้อมูลนักวิจัยของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และยกระดับและพัฒนาคุณภาพงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาให้มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ

นโยบายการจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติและนานาชาติ (The National and International Graduate Research Conference) เรียกอย่างย่อว่า “Grad. Research” นี้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 จากการริเริ่มของที่ประชุมคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยของรัฐ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นที่ประชุมคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือ ทคบร) ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่เป็นผู้แทนจากมหาวิทยาลัยของรัฐทั่วประเทศ 24 แห่งในขณะนั้น มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาและประกันคุณภาพการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา มุ่งความเป็นเลิศทางวิชาการ ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานความร่วมมือทางวิชาการในสถาบันการศึกษาที่จัดการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในและต่างประเทศ และเพื่อสร้างความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดโครงการดังกล่าว อีกทั้งยังเป็นการเฉลิมฉลองในโอกาสที่มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มีอายุครบ 84 ปี ในปีพุทธศักราช 2559 จึงกำหนดจัดโครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติและนานาชาติ เพื่อเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบบรรยายและแบบโปสเตอร์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้การตรวจสอบความถูกต้องตามวิทยาการวิจัยจากผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา รวมถึงการวิพากษ์ผลงานวิจัยจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยฯ

วัตถุประสงค์

รูปแบบการประชุม

ผลงานที่นำเสนอ

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

แผนการดำเนินงาน

ที่ ขั้นตอน/กิจกรรมในการดำเนินงาน ระยะเวลา
1 ประชาสัมพันธ์โครงการ มิถุนายน – ตุลาคม 2559
2 เปิดรับบทความพร้อมชำระค่าลงทะเบียน 1 สิงหาคม – 15 พฤศจิกายน 2559
3 แจ้งผลการพิจารณาบทความ 1 กันยายน - 15 พฤศจิกายน 2559
4 วันสุดท้ายของการส่งบทความฉบับปรับปรุง 30 พฤจิกายน 2559
5 แจ้งผลการตอบรับบทความ 25 พฤศจิกายน 2559
6 ลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชุมวิชาการ (ไม่นำเสนอผลงานวิจัย) พร้อมชำระค่าลงทะเบียน 1 สิงหาคม – 6 ธันวาคม 2559
7 นำเสนอผลงานวิจัยแบบบรรยายและแบบโปสเตอร์ 8 - 9 ธันวาคม 2559

ค่าลงทะเบียน การประชุม (Registration Fee)

ที่ รายการ ค่าลงทะเบียน (บาท)
1 สำหรับผู้นำเสนอระดับชาติที่ไม่เป็นสมาชิก สคบท 2,500
2 สำหรับผู้นำเสนอระดับชาติที่เป็นสมาชิก สคบท 2,000
3 สำหรับผู้นำเสนอระนานาดับชาติที่ไม่เป็นสมาชิก สคบท 3,500
4 สำหรับผู้นำเสนอระนานาดับชาติที่เป็นสมาชิก สคบท 3,000
5 ผู้เข้าร่วมประชุมทั่วไป (รับใบประกาศ) 500

หมายเหตุ

สมาชิกสภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สคบท.) เป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนที่บริหารบัณฑิตศึกษา สมาชิกสภาคณะผู้บริหารบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย (สคบท.) หมายถึง คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษาที่สังกัดในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนในประเทศไทย ดังรายชื่อต่อไปนี้ ตรวจสอบสมาชิก สคบท.

สถานที่ดำเนินการประชุม

  • ห้องประชุมราชนครินทร์ ชั้น 5 อาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์